วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การฝึกงาน : วันที่ 16-17 มิถุนายน 2551

วันนี้ได้ทำงานในระบบฐานข้อมูลลูกค้า DCSS เกี่ยวกับการออกหมายเลข ID ให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการต่างๆ ของ CAT โดยการออก ID นั้นทำโดย กรอกข้อมูลนั้นลงไปในระบบ ระบุบการบริการที่เลือกไว้ จากนั้นจะมีรายละเอียดของบริการนั้นๆ ขึ้นมาโดยจะมีรายละเอียดคร่าวๆ เช่น ต้องการใช้บริการอะไร ส่วนใหญ่ที่พบมากจะมี Leased Line, Frame Link, และ Fixed Line ระบุต้นทาง และปลายทาง Leased Line นั้นจะมีต้นทางและปลายทางเป็นของลูกค้าของ เป็นลักษณะของ End-to-End และFrame Link จะมีต้นทางและปลายทางต่างจาก Leased Line คือ ต้นทางนั้นจะเป็นของ กสท. ซึ่งจะมีสองที่คือบางรัก และศูนย์นนทบุรี ระบุ Bandwidth ระบุวันที่ต้องการใช้ และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ของลูกค้า...

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การฝึกงาน : วันที่ 12-13 มิถุนายน 2551

วันนี้ได้มีพี่สุจินต์ได้สอนระบบวงจรของลูกค้าคนนี้ เพื่อให้เห็นถึงระบบที่ CAT ต้องไปติดตั้งให้ลูกค้าคนนี้ ซึ่งพี่เค้าออกแบบ และตั้งค่าต่างๆ เอง ซึ่งได้สอนเราให้เห็นถึงระบบเน็ตเวิร์กของระบบวงจรนี้ ได้รู้ถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในระบบนี้ การติดตั้งต้องทำอย่างไร การคอนฟิคค่าต่างๆ เป็นอย่างไร ให้ระบบวงจร MPLS แก่ลูกค้าคนนี้แล้วจะคุ้มทุนหรือไม่ ก็ได้ความรู้ต่างๆ มามากมาย แล้วก็ได้เล่าถึงการเคยคอนฟิคเร้าเตอร์ของซิสโก้ให้พี่เค้าฟัง ความรู้ที่เรียนเรื่องการคอนฟิคเร้าเตอร์ซิสโก้ ที่อาจารย์ปวิชสอนนั้นก็ได้ใช้นิดหนึ่ง พี่จินต์บอกว่าที่น้องได้เรียนการคอนฟิคไปนั้น เป็นการคอนฟิคปลายทาง เพื่อให้ปลายทางแจกจ่าย IP กันเอง ซึ่งจะเห็นได้จากรูปที่สอง ที่การเชื่อมวงจรที่ CAT จะทำให้สิ้นสุดตรงที่ IP CAT และรูปต่อไปนี้พี่จินต์ได้ออกแบบ สอนผมอย่างละเอียด และให้ผมมาเขียน visio อีกเพื่อที่จะได้นำแบบนี้ไปเสนอต่อลูกค้าอีกที...


รูปแสดงบริการวงจร MPLS(Multi Protocol Label Switching)

รูปแสดงบริการวงจร IP-VPN

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การฝึกงาน : วันที่ 9-11 มิถุนายน 2551

ตอนเช้าได้ศึกษา และใช้ระบบ DCSS(Data Customer Service System) ซึ่งจะเป็นระบบจัดการฐานข้อมูลของลูกค้าในส่วนของตัวแทนการขายบริการของ CAT เช่น TRUE, TT&T, EQUENT, KIRZ, NTT, Infonet, CS Loxinfo, KDDI, FTTH ซึ่งจัดการในส่วนของการออกรหัส ประเภทของการขอใช้บริการ สถานที่ติดตั้งต้นทาง สถานที่ติดตั้งปลายทาง การสอบถามว่าส่วนที่ลูกค้าจะมาขอใช้บริการนี้สามารถจะติดตั้งได้หรือไม่ บางรายก็ได้ บางรายก็โดยมีสาเหตุคราวๆ ดังนี้
-ไกลจาก NODE ของ CAT
-ไม่มีคู่สาย
-สถานที่ไม่อำนวย
-ไม่มีเครือข่าย เป็นต้น
ถ้าได้หรือไม่ได้อย่างไร ก็จะแจ้งให้ฝ่ายที่รับผิดชอบต่อไปเพื่อที่จะได้ดำเนินการต่อ...

การฝึกงาน : วันที่ 3-6 มิถุนายน 2551

วันนี้ตอนเช้านั่งศึกษา Data Flow ของแผนก ซึ่งผมได้อยู่ในแผนการตลาด สำนักงานบริการลูกค้าผู้ประกอบการ ฝ่ายประสานงานลูกค้าผู้ประกอบการ ซึ่งอยู่ชั้น 5 ในอาคารบริการลูกค้า และตอนบ่ายได้ศึกระบบเบื้องต้นของการบริการต่างของ CAT ซึ่งก็มี Leased Line, IPLC(International Private Leased Curcuit), Frame Relay (Framelink), ATM, MPLS(Multi Protocol Label Switching), CAT Metronet อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, การถ่ายทอด TV ผ่านเครือข่ายดาวเทียม, VIDEO Conference, Dark Fiber, CAT to call, รวมไปถึงการคิดค่าใช้จ่ายของการบริการต่างๆ ซึ่งการคิดค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าติดตั้งวงจร ค่าใช้จ่ายแรกเข้าของบริการ ค่าใช้บริการรายเดือนของบริการ ระยะทางระหว่าง NODE ถึงปลายทางที่ติดตั้ง ค่าเช่าพอร์ต ค่า CIR(Comit Information Rate คือค่าที่รับประกันว่า Bandwidth ที่ลูกค้าได้รับจะไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้) ประเภท Transamition Media(Drop Wire,Fiber)

การฝึกงาน : วันที่ 2 มิถุนายน 2551

เริ่มต้นวันแรกใน กสท. หลักสี่ เข้างาน 8.30น. จากนั้นได้แนะนำตัวกับพี่ๆ ในทีทำงาน เมื่อเสร็จแล้วก็ได้นั่งพักยาวๆ ยังไม่มีอะไรทำ จนมีพี่ปอนด์มาให้ช่วยเดินสายโทรศํพท์ในสำนักงาน โดยสายโทรศัพท์ที่ใช้นั้นจะเรียกว่าสาย Station Wire พี่ปอนด์ได้บอกว่ามันเป็นศัพท์ทางเทคนิค ซึ่งศัพท์คำนี้ได้มาจากประเทศอเมริกา เพราะถ้าบอกว่าสายโทรศัพท์เค้าจะไม่รู้จัก ต้องเรียกว่า Station Wire เดินสายโทรศัพท์จนมือเจ็บ

กลับมาทำงานตอนบ่ายโมง ได้รับมอบหมายให้จัดการเอกสาร ซึ่งเกี่ยวกับการสอบถามบริการ การเชื่อมโยง การยกเลิก ซึ่งทาง กสท.(CAT) ได้มีบริการ Leased Line และได้แบ่งออกเป็นอีกสองประเภทคือ Leased Line ในประเทศ และ Leased Line นอกประเทศ ซึ่งการบริการนี้เรียกว่า IPLC(International Private Leased Curcuit), Frame Relay (Framelink), ATM, MPLS(Multi Protocol Label Switching), CAT Metronet อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, การถ่ายทอด TV ผ่านเครือข่ายดาวเทียม และต่างๆ อีกมากมาย จนถึงเวลาเลิกงานเวลา 16.30น.

.....................................................................................

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ดาวเทียม (Satellite)



ดาวเทียมธีออส (THEOS - Thailand Earth Observation Systems) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ดำเนินงานร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6000 ล้านบาท



“ธีออส” เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) น้ำหนัก 750 ก.ก. ที่ออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถบันทึกภาพขาวดำ (Panchromatic) ได้ที่รายละเอียด 2 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และบันทึกภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral)ได้ที่รายละเอียด 15 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 90 กม. ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่

แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)
แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)
แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)
แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)

การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices:CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide)

ดาวเทียมธีออสมีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กม. จะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และโคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม. สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลกภายใน 35 เมื่อใช้ระบบถ่ายภาพสี และใช้เวลา 130 วันถ่ายได้ครอบคลุมทั่วโลกเมื่อใช้ระบบถ่ายภาพขาว-ดำ

ทีมา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA