วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ดาวเทียม (Satellite)



ดาวเทียมธีออส (THEOS - Thailand Earth Observation Systems) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ดำเนินงานร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6000 ล้านบาท



“ธีออส” เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) น้ำหนัก 750 ก.ก. ที่ออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถบันทึกภาพขาวดำ (Panchromatic) ได้ที่รายละเอียด 2 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และบันทึกภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral)ได้ที่รายละเอียด 15 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 90 กม. ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่

แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)
แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)
แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)
แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)

การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices:CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide)

ดาวเทียมธีออสมีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กม. จะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และโคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม. สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลกภายใน 35 เมื่อใช้ระบบถ่ายภาพสี และใช้เวลา 130 วันถ่ายได้ครอบคลุมทั่วโลกเมื่อใช้ระบบถ่ายภาพขาว-ดำ

ทีมา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คำศัพท์ 15 คำ [4921237062]

1. telecommute ทำงานทางไกล การทำงานอยู่ที่บ้านในขณะที่มีการเชื่อมต่อกับสำนักงานโดยอุปกรณ์โทรคมนาคม ได้แก่ สายโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และโมเด็ม การทำงานอยู่ที่บ้านแทนที่จะต้องเดินทางไปที่ทำงานนั้นเป็นการช่วยลดมลภาวะได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีเพียงบางสำนักงานเท่านั้นที่ใช้ระบบนี้ เนื่องจากผู้จัดการมักจะไม่เชื่อใจลูกน้องถ้าไม่อยู่ภายใต้ความดูแล และคนทำงานก็มักชอบสิ่งแวดล้อมในสำนักงานมากกว่า รวมถึงได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานด้วย นอกจากนี้ การให้ทำงานที่บ้านย่อมจะต้องจัดหาทรัพยากรและเครื่องใช้ต่างๆ ให้แก่คนทำงานด้วยแทนที่จะสามารถใช้ร่วมกันได้ในสำนักงาน

2. teleconference การประชุมทางไกล การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่โดยอาจอยู่ต่างเมืองหรือต่างประเทศก็ได้ แต่สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้โดยใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์ที่ใช้อาทิเช่น ลำโพง เครื่องขยายเสียง จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านพิกัดภาพ และโทรศัพท์ เป็นต้น การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพและข้อความไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ได้ในชั่วพริบตา ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ เพื่ออภิปรายร่วมกันได้

3. computer simulation สถานการณ์จำลองคอมพิวเตอร์ เทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียนรู้กระบวนการในสถานการณ์จำลอง โดยมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจว่าจะต้องมีการกระทำอย่างไรบ้างเมื่อพบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละเหตุการณ์

4. dialup IP เกณฑ์วิธีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยต่อหมายเลข วิธีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยตรงโดยผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์ ในการใช้การเข้าถึงตามกฎเกณฑ์นี้เราต้องติดตั้งตัวขับอุปกรณ์แบบจุดต่อจุด (PPP) หรือแบบอนุกรม (SLIP) เพื่อทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ของกฎเกณฑ์ควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) ด้วย และต้องมีโปรแกรมด้านกราฟิก เช่น เนตสเคป นาวิเกเทอร์ (Netscape Navigator) เพื่อเลือกอ่านเวิลด์ไวด์เว็บและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบวินโดวส์

5. remote access remote access เป็นความสามารถในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายจากระยะทางไกล ในบริษัท สาขาของบริษัทและประชาชนที่เดินทาง ให้สามารถเข้าถึงเครือข่าย ผู้ใช้ตามบ้านที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต โดยผ่านการผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ด้วยการหมุนโทรศัพท์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่โมเด็ม ผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา นอกจากนี้ Remote Access ครอบคลุมถึงการใช้สายพิเศษระหว่างคอมพิวเตอร์หรือ LAN ที่อยู่ระยะไกลกับศูนย์กลางหรือเครือข่ายหลักของบริษัท สายพิเศษมักจะมีราคาแพง และความยืดหยุ่นน้อยแต่อัตราข้อมูลสูง ISDN เป็นวิธีหนึ่งในการติดต่อของสำนักงานสาขา เนื่องจากได้รวมการหมุนด้วยอัตราข้อมูลสูง เทคโนโลยี wireless cable modem และ Digital Subscriber Line สามารถนำมาใช้การติดต่อแบบ Remote Access

6. GIS GIS (geographic information system) ทำให้มองเห็นภูมิประเทศในรูปร่างของข้อมูล โดยพื้นฐาน สิ่งนี้ยอมให้ค้นหาหรือวิเคราะห์ฐานข้อมูลและรับผลลัพธ์ในรูปแบบชนิดแผนที่ เนื่องจากข้อมูลมีหลายประเภทต้องการภาพภูมิประเทศ GIS สามารถใช้ได้หลายลักษณะ เช่น การพยากรณ์อากาศ การวิเคราะห์การขาย การพยากรณ์ประชากร และแผนการใช้ที่ดิน เป็นต้น

7. Global Positioning System GPS (Global Positioning System) เป็น “กลุ่ม” ของตาวเทียมคลุมพื้นที่ 24 ดวงที่มีวงโคจรรอบโลกและทำให้มีความเป็นไปได้สำหรับประชาชนบนพื้นดินเป็นผู้รับที่หาตำแหน่งภูมิศาสตร์ของพวกเขา ความแม่นยำของตำแหน่งอยู่ระหว่าง 100 ถึง 10 สำหรับอุปกรณ์ส่วนใหญ่ ความแม่นยำสามารถเป็นตำแหน่งค้นหาภายใน 1 เมตรด้วยอุปกรณ์ได้รับอนุญาตเฉพาะจากกองทัพ อุปกรณ์ GPS ได้รับการใช้อย่างกว้างขวางในด้านวิทยาศาสตร์และได้กลายเป็นอุปกรณ์ราคาต่ำที่บุคคลทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของตัวรับ GPS

8. GPRS General Packet Radio Services (GPRS) เป็นบริการด้านการสื่อสารไร้สายแบบแพคเก็ตที่ยอมให้อัตราข้อมูลจาก 56 ถึง 114 kbps และการเชื่อมต่อเนื่องกับอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ อัตราข้อมูลสูงกว่าจะยอมให้ผู้ใช้เข้าร่วมการประชุมทางไกล (video conference) และปฏิสัมพันธ์กับเว็บมัลติมีเดียและโปรแกรมประยุกต์คล้ายกันด้วยการใช้อุปกรณ์ handheld เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค GPRS มีพื้นฐานบนการสื่อสารแบบ Global System for Mobile (GSM) และจะทำให้บริการสมบูรณ์ เช่น การเชื่อมต่อโทรศัพท์เซลลูลาร์ด้วย circuit-switched และ Short Message Service (SMS)

9. Wi-Fi Wi-Fi (ย่อมาจาก "wireless fidelity") เป็นศัพท์ของประเภทเครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย (WLAN) ที่ใช้ข้อกำหนดในตระกูล 802.11 คำศัพท์ Wi-Fi ได้รับการสร้างโดยองค์กรที่เรียกว่า Wi-Fi Alliance ซึ่งควบคุมการทดสอบที่ประกันการปฏิบัติงานผลิตภัณฑ์ภายใน ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบของพันธมิตรจะได้รับป้าย "Wi-Fi certified" (เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน)

10. VTAM (Virtual Telecommunication Access Method) VTAM (Virtual Telecommunication Access Method) เป็นการอินเตอร์เฟซโปรแกรมประยุกต์ (application program interface) ของ IBM สำหรับการสื่อสารด้วยอุปกรณ์โทรคมนาคม และผู้ใช้ VTAM เป็นโปรแกรมแรกของ IBM ที่ยอมให้ผู้เขียนโปรแกรมติดต่อ อุปกรณ์ในฐานะ "logical unit" โดยไม่ต้องเข้าใจรายละเอียดของสาย โปรโตคอล และอุปกรณ์การทำงาน ท่อนหน้า VTAM ผู้เขียนโปรแกรมใช้ IBM Basic Telecommunication Access Method (BTAM) ในการสื่อสารกับอุปกรณ์ซึ่งใช้ binary synchronous (BSC) และโปรโตคอล Star-Stop line

11. virtual private network (VPN) virtual private network (VPN) เป็นเครือข่ายข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำให้ใช้โครงสร้างพื้นฐาน ของโทรคมนาคมสาธารณะ และรักษาความเป็นส่วนบุคคล โดยการใช้โปรโตคอล tunneling protocol และ procedure ของความปลอดภัย virtual private network สามารถแตกต่างจากระบบเจ้าของ หรือ leased line ที่สามารถใช้โดยบริษัทเดียว แนวคิดของ VPN เป็นการให้บริษัทมีความสามารถเหมือนเดิม ที่ต้นทุนต่ำลง โดยการใช้โครงสร้างสาธารณะร่วม แทนที่การใช้ส่วนตัว ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ให้ความปลอดภัย ในการใช้ทรัพยากรร่วมสำหรับ voice message นอกจากนี้ virtual private network ทำให้มีความเป็นไปได้ ที่จะมีความปลอดภัย ในการใช้ทรัพยากรสาธารณะสำหรับข้อมูล ในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ กำลังใช้เครือข่ายส่วนบุคคลสำหรับ extranet และ intranet การใช้ virtual private network เกี่ยวข้องกับการ encrypt ข้อมูลก่อนการส่งผ่านเครือข่ายสาธารณะ และ decrypt เมื่อถึงปลายทางด้านรับ การเพิ่มระดับความปลอดภัย นอกจากจะ encrypt ข้อมูลแล้ว ต้องรวมถึง network address ของผู้ส่งและผู้รับ Microsoft, 3COM และบริษัทอื่น ๆ หลายบริษัท ได้พัฒนา Point-to-Point Tunneling Protocol (PPTP) และ Microsoft ได้ขยาย Windows NT ให้สนับสนุน ซอฟต์แวร์ VPN ตามปกติจะได้รับการติดตั้งเป็นหนึ่งของ firewall server ของบริษัท

12. Secure Sockets Layer Secure Sockets Layer (SSL) เป็นโปรโตคอลที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับการจัดการของการส่งผ่านข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต เมื่อเร็วๆนี้ SSL ได้รับความสำเร็จโดย การใช้ Transport Layer Security (TLS) ที่อยู่บนพื้นฐานของ SSL โดย SSL ใช้เลเยอร์โปรแกรมที่อยู่ระหว่าง Hypertext Transfer Protocol (HTTP) และ Transport Control Protocol (TCP) ของอินเตอร์เน็ต SSL ได้รับการรวมเป็นส่วนใน browser ของ Microsoft และ Netscape และผลิตภัณฑ์แม่ข่ายเว็บส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่า SSL ได้รับการพัฒนาโดย Netscape แต่ได้การสนับสนุนจาก Microsoft และผู้พัฒนาลูกข่าย/แม่ข่ายอินเตอร์เน็ตอื่น และกลายเป็นมาตรฐานทางอุตสาหกรรมจนกระทั่งได้วิวัฒนาการเป็น Transport Layer Security ส่วน “socket” ของคำนี้อ้างถึงวิธีการ socket ของการส่งผ่านข้อมูลกลับและไปข้างหน้าระหว่างโปรแกรมลูกข่ายและแม่ข่ายในเครือข่ายหรือเลเยอร์โปรแกรมในคอมพิวเตอร์เดียวกัน SSL ใช้ระบบ public-and-private key encryption จาก RSA ที่ได้รวมในการใช้รับรองดิจิตอล

13. weblog weblog (บางครั้งเรียกย่อว่า blog หรือเขียนเป็น “web” log หรือ “weblog”) คือ เว็บไซต์ส่วนบุคคลหรือจุดเริ่มไม่ใช่เชิงพาณิชย์ที่ใช้รูปแบบล๊อกวันที่ที่ได้รับการปรับปรุงทุกวันหรือความถี่สูงด้วยสารสนเทศใหม่เกี่ยวกับหัวข้อเฉพาะหรือช่วงของหัวข้อ สารสนเทศสามารถได้รับการเขียนโดยเจ้าของไซต์ รวบรวมจากเว็บไซต์อื่นหรือทรัพยากรอื่น หรือผู้ใช้มอบให้

14. edge router คำนี้ใช้สำหรับเครือข่ายแบบ asynchronous transfer mode (ATM) โดย edge router เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่มี router ระหว่างหนึ่งหรือมากกว่า เครือข่าย LAN แบบ legacy application และ backbone ของเครือข่าย ATM เช่น เครือข่ายมหาวิทยาลัย หรือเครือข่าย WAN (wide area network ) ซึ่ง edge router เป็นตัวอย่างของ edge device และบางครั้ง อ้างถึงในฐานะ boundary router ในบางครั้ง edge router แตกต่างจาก core router ซึ่งส่งต่อแพ็คเกตไปคอมพิวเตอร์ host ภายในเครือ (ไม่ใช่ระหว่างเครือข่าย)

15. dialup access การเข้าถึงโดยต่อหมายเลข วิธีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งหรือกับข่ายงาน เช่น อินเทอร์เน็ต โดยการใช้โมเด็ม การเชื่อมโยงนี้จะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตโดยผ่านผู้จัดหาบริการ (service provider) และจะทำให้คอมพิวเตอร์ของเราเป็นเครื่องปลายทางระยะไกล (remote terminal) ของคอมพิวเตอร์ของ ผู้จัดหาบริการ ผู้จัดหาบริการอินเทอร์เน็ตจะขายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นการประหยัดและเป็น ประโยชน์มาก แต่ผู้ใช้จะไม่สามารถใช้โปรแกรมด้านกราฟิกได้เนื่องจากเป็นการใช้ในระบบยูนิกซ์
http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_menu.php